Originally published in Volume 1 No.4 Bicycles United magazine
Story: Thanasak Vijitrattana | Photos: S o m k i s S
อ่านเวอร์ชั่นภาษาไทย กดที่นี้จ้า
1 & ONLY Surachai Sasibutra
The Last Thailand Custom Made Vintage Frame Master
Uncle Surachai Sasibutra from Bicycle House was formerly on the National Cycling Team of Thailand and is also the owner of Thai handmade frames called BOSS which just celebrated its 25th Anniversary not so long ago. For over 50 years Uncle Surachai has been contributing vastly to the bicycle society in Thailand.
“When I first took up cycling I was 15-16 years old and I started with road bikes as I think road bikes suited me well both physically and characteristically. In 1972, I began cycling and it was so much fun. I was still a young boy so I was able to ride wherever I wanted. Fortunately, I came across a bicycle race in Moo Ban Setthakit in Thonburi. I think the first time I went there it was their second time in organizing the race. The prize was a piece of land of 50 square wah (about 200 square meters) so I went to observe the race. It was exciting and all so new as I had never been to a race, so I enjoyed it a lot.”
“Honestly, I wanted to be a runner. Originally, I was interested in becoming a track and field sports athlete. My school had many famous athletes who were able to join the national team. Yothinburana had many hurdle athletes and it was one of the most medal winning schools. Back then, I loved watching the race, the more I watched, the more fun it became. I wanted to become an athlete myself however, I could not make it far. I was not good enough as a runner since I was too slow and sometimes I finished almost the last, or even the last one. I turned to cycling and I found it very beneficial, I realized my thigh muscles was more suitable for this kind of sport. Running required a lot of calves muscle usage so I started to cycle more seriously.”
Between 1963-1964, Uncle Surachai began racing in a student race the Wachiralongkorn’s Cup and received three medal pin prizes from Somdech Phra Srinagarindra Boromarajajonani (Somdech Ya). Later on between 1965-1966, he won the first place in time-trial team race 100 kilometers Luang Suthisannakorn’s Cup.
“Between the period of 1965-1966, I was qualified to join the national team when I was 18. Back then, there were not as many races as there are today. Tryouts for the national team were more or less like participating in a race as it was like strength testing before the tryout. It was around the time of the 4th Asian Games when I went for the tryout and was qualified as the last of 24 candidates. We went to practice at Gymnasium Supphatcharasai Stadium. Back then it was the only gymnasium since Ratchamangkhala Stadium was still under construction. I practiced for two weeks and then I quit as they wanted to eliminate the last 24 candidates to 18 then down to 12. Also I had to study so I quit to first focus and finish my education. There were still many great athletes in the team, I was still very young so my strength was not as powerful as theirs. Moreover, there were too many restrictions back then for national team athletes. You could not join in too many races if you were already on the national team. The chances to gain more experience were too limited and I wanted to gain more experience first.”
“My determination won and I started looking for additional practicing and training methods. I sought advice from professionals also from the Association. I tried everything I had been told or from what I found in books. As I was in the race circle back then I tried to participate in student races first then I joined the provincial races as well as the long distance race organized by the Thai Cycling Association, I won many prizes from those races.”
“I tried out again in 1969 after the Bangkok – Chiang Mai Long Distance Race. They picked only promising athletes that had potential to race in the national team and I was automatically qualified. From all the rising stars to the champs, I too was also one of them so I could join in. My first race in the national team was the Asia Championships Race in Korea, I won the bronze medal from Team Road Race.”
“Back then when they open the tryout for national team, they would announce the tryout first which consisted of 1,000-meter race, 100-kilometer race, Single Time-Trial and Single Pursuit. They looked for strength and speed. For 1,000-meter race, they looked for speed. For Single Pursuit, they looked for duration and speed. For 100-kilometer, they looked for the ultimate duration. They would take our average scores to see if we qualified then they would take us to practice further. About one month prior to the race they would hold another tryout and the number of qualified candidates depended on the race type. For the SEA Games, there would be only eight qualified candidates and twelve for the Asia Championships. For the twelve qualified candidates, there would be many races in one tournament with each athlete participating in more than one race. Those who could compete in more race categories had more winning opportunities especially those who could race both track and road race since there were less candidates participating. The budget was low and we had to be versatile if we wanted to race especially since the older generation of athletes were much stronger.”
“There were many athletes but not many national team cyclists. Actually, the age range for national cyclists lasts much longer, it is only that the cyclists retire themselves early. Some chose to participate in only selected matches since they did not like the practice system at that time. Going for practice was like being imprisoned, each day we only ate, slept and practiced in a small room. The tough practice schedule was not the problem it was the living condition, that was bad. If we had to practice hard, we needed good food to eat and a comfortable place to sleep. Back then Sport Science was still being developed so living condition for athletes was not as good. The nation’s economy was not going very well back then and budgets for sports were very limited.”
“In some matches, such as the Asian Games or the events hosted in Thailand, we had to practice for a very long time from 6, 8 to 10 months in a year. For the Olympics, we had to practice for at least 8 months. I was not really into that kind of commitment, I was called for practice three times for the Mexico, Canada, and Munich Olympics. I reported my participation for the game but I decided to quit since the practice were taking too long periods and I did not get to study. The oversea races were better, the practice period was shorter, only 2 or 3 months at the longest. One month tryout, two months practice, I could take that.”
“If we did not join in the national team, there were not many races to join as the official race took place once a year. Provincial race too was held once a year. In the first one to two years when I was not in the national team I would join the Provincial race. However, sometimes the Provincial race prohibits the national team cyclist to participate in the race. For us, who had practiced so hard, it was inevitable to join the national team. If you only wanted to race, you could join temple fairs, the Tenth Month Festival in Nakhon Sri Thammarat or Chiang Mai’s Winter Festival. Cyclists often meet each other at these events. Sometimes we went on our own taking our bicycle and a pillow with us. We spent a night in a temple or a hotel if we had some extra money. We had to attend these events to get the chance to race in other provinces. Sometimes we win a trophy, sometimes a quarter or two quarter baht weight of gold, even one baht of gold depending on how much each province could afford. Sometimes we went to the race pretending to be one of the local people and race with normal bikes. We were athletes so we were more competitive than the locals anyway, it was a like prize hunt for us. For me I did not do that as I only did road races.”
“In the year 1970, I founded the Super Highway Bicycle Club, it was to be a place for training and gathering for young kids who were interested in cycling. We organized many activities related to bicycles.”
“I was in the national team for only 6 years, our team’s achievements were possibly fewer than others. Whilst I was in the national team, I mostly raced in Asia Championships and SEA Games. The last race was in 1975, Thailand was the host of SEA Games. I was really determined to win since the SEA Games were hosted in my homeland. I was one of the star cyclists back then, but I was not the best. It was hard to tell who was the best, we all knew every one of us was good. I got the tryout but they did not call me. So, I quit and never thought of joining the tryout again. At the time I was 28 years old which was quite old for the team so I resigned after.”
“After that I went back to work as our club was still active. I still cycle and organize many activities for the Bicycle Club. I opened the training sessions for kids, organized cycling trips to Hat Yai, Chiang Mai and held races. There were not many organizers, so I decided to do what I could while I still had the strength to do it. I was also the President of the Thai Cycling Association. The position was open and they realized I already did a lot for the cycling society so I was nominated for the position. I was on duty for a year and after the term ended I resigned. I have done it all in the Thai cycling society.”
“Back then, high quality bikes were rarer than diamonds or gold. Now, if you have money you can buy high quality bicycles, it was not like that in the old times. We knew who owned imported bicycles, who owned a firsthand or a secondhand bike and who used what brand type. Frontline cyclists were known for the bicycles they used, when I was in the national team I used my own Peugeot PX10. The government offered a bike to race but it did not suit me, it was a Carlton which was too long. I have long legs and short body, so the bike was not for my body type no matter how I adjusted it. My own bike suited me more. I use it regularly so I am comfortable on it. This is why I want to make quality frames for Thai people body type.”
“During that era, if we don’t count Muk Khlong Toei, Juk Aree, Pae Sanghee who closed their business long before us, we had Lan Luang and Prida shop (Chunlamonthon) who produced Thai frame for sales. I decided to study in this field so as not to encounter any problems when producing the frames. I want to offer more options for cyclists in Thailand. The joints are the cheaper ones from Japan normally used in touring bikes. I use them too, I modify and adjust them to make it 72° to 73° by using various methods.”
“When we produced the frames, we would import foreign bikes for sales too. We would keep sizes 50” 51” 52” and 53”. We would make everything, whoever wanted something would come and we measure the sizes. As I was really serious about it, I even made BOSS stickers. Bicycle shops rarely did that, Prida had stickers but the designs were not as detailed as ours. We had to order thousands of stickers costing over ten thousand baht, it was considered a lot of money 30 years ago. I did not think of doing a business, I did not even think then of making profit. I only wanted to produce Thai frames with the label “Made in Thailand”. I did not care how much it would cost. Profit aside; I wanted to show that we, Thai people, could do it too.”
“We produced some but all was sold out. We continued making frames until we ran out of joints so we stopped. Later on, metal frames became less popular and aluminum frames were getting more attention. The shapes were different and the weight was lighter. The carbon frames came along and then many more types. People were not fond of metal frames anymore. Up to five to six years ago, there was only one metal frame maker left. Others stopped making metal frames. I do not know about other types of bicycles, but there were none for road bikes. Road bikes were almost extinct at one point. There were less then 500 road cyclists left in our country.”
“We kept a low profile during that time, but we also continued to make frames. We made frames for personal use and for display purposes, many youngsters became interested in those frames. They found the metal and joint parts and asked me if I could teach them how to make metal frames which is why we have courses up to today. I wanted it to continue as after my generation, there would be no more frame makers.”
“Actually, it is not hard to find the knowledge these days. The techniques are not a secret anymore. There are books about these techniques and some wants to prove that Thai people can do it too. Some just want to compile the knowledge for later generations, since seeking knowledge on their own might be difficult and time consuming. This way they can safe time and money. They would not have to experiment everything from scratch. However, if anyone interested in the course, we already close the last group of applications as there are only two more people teaching.”
“Soon at the end of this year, we will organize the 50th Anniversary of the Memorial of Long Distance Cycling Trip Bangkok – Chiang Mai. Originally, we wanted to organize it in mid-year, just like 50 years ago, but there were some obstacles so we moved it to the year end. It is a good thing for those people who really wanted to join the trip as they will have more time to prepare themselves, clear their schedules, more time for promoting and PR activities. Moreover, it will be winter so more people will want to go out, exercise and ride. We are hoping for more sponsors, so the participation fee can be cheaper.”
“We will open for registration in November. After you register to participate, you will have to make payment for hotel and meals. We are not making profits from this event, participant will have to share a hotel room, two participants in one air-conditioned room. We provide breakfast and dinner. For example, expenses for the 6-day race is 6,000 baht. On the last day, if anyone wants to come back together, we can all share a rental car. On the sixth day when we reach Chiang Mai, we can go sightseeing together; go to Doi Suthep and elsewhere in Chiang Mai.”
“The next project I want to do is to manage the Ban Sue Morb Resort in Khon Khaen. I still want to do something related with bicycles. I want to open a school teaching cycling, a basic road racecourse. I want to give advice to beginners who are interested in cycling so they can cycle in a more fun and safer way. I think I am destined to work around bicycles, there is nothing else I can do.”
ลุงสุรชัย ศศิบุตร แห่งบ้านเสือหมอบ
อดีตนักกีฬาจักรยานทีมชาติไทยเจ้าของจักรยานเฟรมทำมือ BOSS แบรนด์ไทยที่มีอายุครบรอบ 25 ปีไปเมื่อไม่นานมานี้ เป็นผู้ที่อุทิศตัว เพื่อประโยชน์ต่อวงการจักรยานไทยอย่างยาวนานกว่า 50 ปี
“เริ่มจับจักรยานเป็นเรื่องเป็นราว ก็เสือหมอบเลยเพราะว่าเหมาะกับเรา ถูกกับรูปร่าง ลักษณะ นิสัยใจคอ เล่นแล้วมันสนุก ตอนนั้นปี 2515 อายุ 15-16 ใหม่ๆ สนุกๆ ด้วยความที่เป็นเด็กๆ ก็ขี่เที่ยวไปไหนมาไหนเรื่อย จังหวะตอนนั้นไปเจอเขามีแข่งจักรยานที่หมู่บ้านเศรษฐกิจ (ฝั่งธนฯ) ตอนที่เราไปดูรู้สึกว่าเขาแข่งเป็นปีที่ 2 ทีแรกได้ข่าวว่าเขามีรางวัลเป็นที่ดิน 50 ตารางวา เราก็เลยไปดูว่าพวกเขาแข่งกันยังไง ปรากฏว่าพอขี่ไปดูเพื่อนๆ ก็ชวนให้ลงแข่งก็เลยลองดู ตื่นเต้นดี เป็นความรู้สึกที่แปลกใหม่ เราไม่เคยแข่งมาก่อนก็เลยสนุก”
“ความจริงแล้ว อยากเป็นนักวิ่งมากกว่า สนใจเป็นนักกรีฑาเพราะที่โรงเรียนมีนักกรีฑา ดังๆ หลายคนที่ติดทีมชาติ วิ่งข้ามรั้วที่โยธินบูรณะนี่เมื่อก่อนตัวนักกรีฑาเยอะ และเป็น สถาบันที่ได้ถ้วยบ่อย เวลามีการแข่งขันก็ชอบไปดู พอเชียร์ก็สนุก ทำให้มีความคิดอยากเป็น นักกีฬาบ้าง แต่วิ่งแล้วไม่ได้เรื่องช้ากว่าเขา ไม่บ๊วยก็เกือบจะรองบ๊วย แต่พอมาขี่จักรยานแล้ว มันดี กล้ามเนื้อเรามันเหมาะกับการใช้กำลังส่วนนี้ของขามากกว่า (กล้ามเนื้อต้นขา) ซึ่งการ วิ่งต้องใช้กล้ามเนื้อส่วนน่องซะเยอะ จักรยานใช้คนละส่วน”
ในช่วงปีพ.ศ. 2506-07 เริ่มเข้าการแข่งขันจักรยานนักเรียน ชิงถ้วยวชิราลงกรณ์ ได้รับ รางวัลพระราชทานเข็มรางวัลจากสมเด็จย่า 3 รางวัล ต่อมาช่วงปี 2508-09 ได้รับรางวัลชนะ เลิศทีมไทม์ไทรอัล 100 กม. ชิงถ้วยหลวงสุทธิสรรณกร
“ในช่วงปี 2508-09 นี้เอง ได้คัดตัวติดทีมชาติครั้งแรกเมื่ออายุ 18 ปี สมัยก่อนการแข่งขัน มีการจัดไม่มาก การคัดตัวทีมชาติมันก็เหมือนการแข่งขันกลายๆ เหมือนการประลองกำลัง ที่จะคัดตัว ตอนนั้นช่วงเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 4 เราก็เลยไปลองคัดตัวดูก็ติดใน 24 คน ไปเก็บ ตัวที่ยิมเนเซี่ยม สนามศุภชลาศัย สมัยนั้นมีแห่งเดียว สนามกีฬาหัวหมากกำลังสร้างอยู่ เก็บ ตัวอยู่ได้ 2 เดือนเราก็ลาออก เพราะเขาจะตัดตัวจริงจาก 24 จะเหลือ 18 แล้วจะเอา 12 คน ราวๆ นั้น เรากำลังติดเรียน ออกมาเรียนหนังสือก่อนดีกว่า รุ่นพี่ๆ เขายังแข็งแกร่งกันหลายคน เรายังเด็ก กระดูกยังอ่อนความแข็งแกร่งสู้เขาไม่ได้ สมัยนั้นโดนจำกัดด้วยว่าเป็นทีมชาติแล้ว จะเข้าแข่งรายการอะไรต่ออะไรไม่ได้เยอะแยะเลย ลงแข่งประเภทนักเรียนก็ไม่ได้ ประเภทที่จะ แข่งก็เหลือน้อยลงๆ เราอายุยังไม่มาก ออกหาประสบการณ์ไปก่อน”
“ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ เราเริ่มหาวิธีการฝึกซ้อมเพิ่มเติม ถามจากผู้รู้ จากสมาคมฯ จาก หลายๆ แหล่งที่เขาแนะนำมา จากหนังสือ เราดูแนวทางแล้วเอามาซ้อมเอง ระหว่างนั้น เราก็เริ่มเข้ามาอยู่ในแวดวงการแข่งขันแล้ว พยายามแข่งจักรยานนักเรียนไปก่อน แข่งกีฬา เขต และได้เข้าร่วมการแข่งขันจักรยานทาง ไกลที่จัดโดยสมาคมจักรยานฯ ได้รับรางวัล มากมาย”
“กลับมาคัดตัวอีกครั้งประมาณปี 2512 หลังการแข่งขันจักรยานทางไกลกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เขาเจาะจงเรียกพวกที่พอจะเป็น แถวหน้าของนักจักรยานในยุคนั้น ที่มีฝีเท้า ดีๆ มาเก็บตัว ติดโดยอัตโนมัติ พวกดาว รุ่งทั้งหลายแหล่ พวกที่ได้แชมป์ ช่วงนั้นเรา กำลังดาวรุ่งเขาก็เอามาผสมกับนักกีฬาตัว เก่าๆ ครั้งแรกไปแข่งรายการแชมป์เอเชียที่ เกาหลีได้ เหรียญทองแดงประเภททีมถนน”
“ตอนนั้นการคัดตัวเข้าทีมชาติ เขาจะเริ่ม ประกาศเปิดรับสมัตรคัดตัวเข้าทีมชาติก่อน มีประเภท 1,000 เมตร 100 กิโลเมตร เดี่ยว ทาร์มไทรอัล เดี่ยวเปอร์ซุส เขาจะดูกำลัง ดู ความแข็งแกร่ง ดูความเร็ว อย่าง 1,000 เมตร เขาจะดูความเร็ว เดี่ยวเปอร์ซุสก็จะดูความอดทน และดูความเร็วด้วย 100 ก.ม. ก็ดูความทน ทรหด คัดเฉลี่ยๆ คะแนนมา ถ้าผ่านจะถูก เรียกมาเก็บตัว จะตัดตัวอีกครั้งช่วงที่ต้องส่ง ชื่อก่อนการแข่งประมาณ 1 เดือน เหลือกี่คน ก็แล้วแต่รายการแข่ง อย่างซีเกมส์นี่มี 8 คน ชิงแชมป์เอเชีย 12 คน แต่ 12 คนในหนึ่ง ทัวร์นาแมนจะมีการแข่งขันเยอะมาก เพราะ ฉะนั้นแต่ละคนจะต้องลงมากกว่า 1 ประเภท ที่ขี่ได้หลากหลายก็มีโอกาสมากกว่า ใครขี่ทั้ง ลู่ทั้งถนนได้ก็มีโอกาสเยอะกว่า มีนักกีฬาให้ เลือกน้อย งบประมาณก็น้อย จะเอาไปแข่ง ทีต้องสารพัดประโยชน์ทำได้ทุกอย่าง เพราะ ฉะนั้นนักจักรยานไทยสมัยก่อนแกร่งมากๆ”
“เป็นนักจักรยานอยู่นาน แต่เป็นทีมชาติไม่ นานเท่าไหร่ ที่จริงช่วงอายุที่เป็นทีมชาติมัน มากกว่านั้นเยอะ แต่เป็นคนช่างเลือก จะลงเล่นเฉพาะบางแมทช์ เพราะไม่ชอบการ ฝึกซ้อม การเก็บตัวเหมือนติดคุก วันๆ ก็ เอาแต่กินนอนซ้อมอยู่ในห้องแคบๆ ซ้อม หนักไม่ได้กลัว แต่ความเป็นอยู่ไม่ดี เราซ้อม หนักก็ต้องการอาหาร การพักผ่อนนอนหลับ ต้องดี แต่ว่าบางอย่างมันไม่แมทช์กัน คือ วิวัฒนาการต่างๆ ยุคนั้นยังไม่ทันสมัย วิทยาศาสตร์
การกีฬายังเข้ามาช่วยไม่มาก ความเป็นอยู่ ของนักกีฬาไม่ดีเท่าที่ควร เศรษฐกิจของ ประเทศชาติก็ไม่ค่อยดี งบที่จะมาทุ่มให้การ กีฬามีก็น้อย”
“แมทช์ใหญ่ๆ อย่างเอเชียนเกมส์หรืองาน ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ จะเก็บตัวนานมาก 6, 8 ,10 เดือนถึงปี อย่างโอลิมปิกเก็บตัวไม่ น้อยกว่า 8 เดือน โดนเรียกเก็บตัวตั้งแต่โอลิมปิก ที่เม็กซิโก แคนนาดา มิวนิก 3 ครั้ง ไปรายงาน ตัวแล้วก็ไม่เอา ไปลาออกมันนานเกินไป ไม่ ได้เรียนหนังสือหนังหา แต่เวลาไปแข่งต่าง ประเทศก็ยังพอไหว เวลาที่เก็บตัวมันจะไม่นาน เตรียมไปแข่งต่างประเทศมันจะประมาณ 2 เดือน ไม่เกิน 3 เดือน คัดตัวซักเดือน เก็บตัว 2 เดือน งานอย่างนี้เราพอทนได้เพราะไม่นานนัก พอ กัดฟันทนได้”
“ในตอนนั้น ถ้าไม่เป็นนักกีฬาทีมชาติก็ ไม่ค่อยมีงานอื่นให้เราแข่ง งานที่เป็นทางการ มีปีละครั้ง กีฬาเขตจัดปีครั้ง ในปีที่ 1-2 ไม่ เป็นทีมชาติก็แข่ง แต่กีฬาเขตห้ามทีมชาติ ลงแข่ง เราก็เล่นไม่ได้อีก ในเมื่อเราซ้อมกัน มาแล้ว ทางของนักจักรยานก็เลยต้องจบลง ที่เป็นทีมชาติ แต่ถ้าอยากจะแข่งจริงๆ ก็ จะเป็นพวกงานวัด งานเดือน 10 ที่จังหวัด นครศรีธรรมราช งานฤดูหนาวเชียงใหม่ พวกนักจักรยานก็จะพบกันตามงานพวกนี้ ไปกันเองไปได้ก็ไป หิ้วรถกันไปเสื่อผืนหมอน ใบบ้าง ไปนอนวัดบ้าง ถ้ามีงบหน่อยก็นอนโรงแรม ต้องไปงานอย่างงี้ถึงจะได้แข่งบ้างแข่งกันตาม ต่างจังหวัด บางแห่งก็ได้ถ้วยรางวัล บางแห่ง ก็ได้ทองหนึ่งสลึง สองสลึง หนึ่งบาทบ้าง แล้วแต่จังหวัดไหนจะมีงบ บางทีก็ปลอมตัว ไปแข่งกับชาวบ้านไปเอารถชาวบ้านธรรมดา มาแข่งก็มี แต่ยังไงนักกีฬามันก็ได้เปรียบกว่า ชาวบ้านอยู่ดี เป็นการไปขุดทองล่าเงินรางวัล ในสมัยนู้น”
“แต่เราไม่เอานะ แข่งก็แข่งเสือหมอบอย่าง เดียว ประมาณปี 2513 จึงตั้งชมรมจักรยาน ขึ้นมาชื่อ “ชมรมนักจักรยานซุปเปอร์ไฮเวย์” ให้เป็นที่ฝึกสอนและรวบรวมเด็กรุ่นใหม่ที่ สนใจ จัดกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับจักรยานขึ้น มาหลายอย่าง”
“เป็นทีมชาติอยู่แค่ 6 ปี ผลงานทีมชาติ อาจจะมีน้อยกว่าคนอื่น ระยะที่เล่นทีมชาติ ก็จะเป็นการแข่งชิงแชมป์เอเชียกับซีเกมส์ ซะเยอะ จนมีครั้งสุดท้ายปี 2518 ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพซีเกมส์ ก็ตั้งใจจะเล่นเพราะเป็น ปีที่แข่งในไทย ในช่วงนั้นเราก็อยู่ในแถวหน้า ของนักจักรยานในยุคนั้น ไม่ได้เก่งที่สุด ถ้า จะเรียกว่าใครเก่งที่สุดก็ไม่ได้เพราะที่ขี่อยู่ก็ จะรู้ฝีเท้าแต่ละคน ก็คัดตัวติดแต่ไม่ได้มีการ เรียกตัวมา พอไม่ได้เราก็เลยเลิกและไม่เคย กลับไปคัดตัวอีกเลย ประกอบกับปีนั้นอายุก็ เริ่มเยอะ 28 แล้ว เราก็เลยถอนตัวออกมา”
“หลังจากนั้นเราก็กลับไปทำงานชมรม ของเรา ยังขี่จักรยานจัดกิจกรรมของชมรม จักรยาน จัดสอนเด็กๆ สอนรุ่นน้องๆ จัด ขี่ท่องเที่ยวไปหาดใหญ่ เชียงใหม่ จัดการแข่งขัน เพราะยุคก่อนนั้นหาคนจัดได้ยากมาก ยังคงทำ ประโยชน์ให้ในวงการจักรยานอีกมากมาย เคยได้เป็นกรรมการบริหารสมาคมจักรยาน แห่งประเทศไทยอยู่ช่วงนึง ตอนนั้นมีตำแหน่ง ว่างอยู่แล้วเขาเห็นว่าเราทำงานให้วงการ จักรยานเยอะก็เลยได้เสนอชื่อขึ้นไป เป็นอยู่ปี กว่าพอหมดสมัยก็เลิก ถือว่าเราเป็นทุกอย่าง แล้วในวงการจักรยาน”
“ยุคนั้นจักรยานดีๆ หายากยิ่งกว่าหาเพชร หาทองเสียอีก มีเงินก็ซื้อทองได้แต่จักรยาน สมัยนู้นมีเงินก็ซื้อไม่ได้ แต่ละคันถ้ารถนอก จะรู้เลยว่าใครเป็นเจ้าของ มือหนึ่งอยู่ที่ใครมือ สองอยู่ที่ใคร ใครใช้รถอะไร นักจักรยานระดับ แถวหน้านี่จะรู้เลยว่าใครใช้ยี่ห้ออะไร รุ่นอะไร อย่างช่วงตอนแข่งทีมชาติก็ใช้รถของตัวเอง แข่งเป็น Peugeot PX10 รถหลวงก็มีให้แต่ ไม่ถูกกับเรา เป็นรถ Carlton ช่วงมันยาวและ ใหญ่เกินไป เราขี่ไม่ได้เพราะเป็นคนขายาวตัว สั้น ขี่แล้วปรับยังไงมันก็ไม่ได้ดี รถของเรามัน เหมาะกันตัวเรามากกว่า ถนัดขี่รถเราเอง เรา จึงอยากต่อเฟรมดีๆ ให้คนไทยได้ใช้กันบ้าง”
“ในยุคนั้นถ้าไม่นับ มุกคลองเตย จุกอารีย์ แป๊ะซังฮี้ เพราะเลิกไปก่อนเราหลายปี ก็มี ร้านหลานหลวงกับปรีดา (จุลละมณฑล) ที่ ทำรถจักรยานฟรมไทยขาย เราก็มองว่าเรา ก็เรียนมาด้านสาขานี้ จากประสบการณ์เรา ก็คิดว่าเราทำได้ไม่ได้ยากเย็นอะไร อยากให้ นักจักรยานมีทางเลือก พอมาลองทำดูก็โอเค ท่อก็ใช้เหล็กธรรมดาที่หาได้ในบ้านเรา ข้อต่อ ก็เป็นของญี่ปุ่นถูกๆ ที่ไว้ใช้ในพวกรถทัวร์ริ่ง เอามาดัดแปลงแก้ไข ปรับปรุงใหม่ ต้องดัด มันเพราะองศามันจะนอนมาก มา 72 องศา ก็พยายามดัดให้เป็น 73 องศา ให้ได้ ผ่าบ้าง อะไรบ้าง พยายามดึงมัน”
“ตอนต่อเฟรมขายเรา ก็สั่งรถนอกเข้ามา ขายด้วย แล้วก็ลอกไซส์ไว้ 50” 51” 52” 53” ลอกไซส์เก็บไว้หมด ใครจะเอาอะไรก็มาวัด ไม่ได้วัดตัวใช้วัดไซส์ดูรูปร่างเอา และด้วยความ ที่อยากจะทำให้ดี ก็เลยไปลงทุนทำสติกเกอร์ BOSS ยุคนั้นไม่ค่อยมีใครทำ มีปรีดาที่ทำแต่ยัง เล็กๆ ไม่ได้ออกแบบลวดลายอะไรมากมาย ค่าทำสติ๊กเกอร์ต้องสั่งทีเป็นพันชุด แค่ทำ สติ๊กเกอร์ก็หมื่นกว่าบาทเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ถือว่าต้นทุนสูง แต่ตอนนั้นไม่ได้ทำเพื่อธุรกิจ ไม่ได้เอาผลกำไรมาเกี่ยวไม่ได้คิด ทำเพราะอยาก จะทำแบรนด์ไทยไทย Made in Thailand มัน จะเท่าไหร่ก็ช่างมัน ถูกแพงก็ไม่รู้ ขาดทุน กำไรเอาไว้ทีหลัง แค่อยากจะทำให้รู้ว่าเรา ก็ทำได้”
“ทำได้สักพักก็หมด ทำมาขายได้ไปเรื่อยๆ จนไม่มีข้อต่อเราก็เลิก หลังๆ เริ่มหมดยุค เฟรมเหล็ก เปลี่ยนไปเป็นยุคอลูมิเนียม รูป ทรงใหม่ๆ น้ำหนักเบาลง ไปเป็นคาร์บอน และอะไรอีกหลายอย่าง คนเริ่มไม่สนใจรถ เหล็กแล้ว เมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว ช่างที่ จะต่อเฟรมอย่างนี้เหลืออยู่คนเดียว คนอื่นเขา ก็เลิกทำ วางมือกันหมดไม่มีใครทำอีก อย่าง อื่นไม่รู้นะ แต่เสือหมอบไม่มีคนทำ ช่วงนึง นักปั่นเสือหมอบเกือบจะสูญพันธุ์ ทั้งประเทศ
ไม่ถึง 500 คน”
“ระหว่างนั้นก็ยังทำอยู่เรื่อยๆ ทำใช้เองบ้าง ทำไว้โชว์บ้าง จนมีเด็กๆ เริ่มสนใจ ก็ไปหา เหล็ก หาข้อต่อมาให้ทำ แล้วก็มาขอเรียน จึง เป็นที่มาของคอร์สสอนต่อเฟรมตั้งแต่นั้น ให้ ลูกหลานจะได้สืบสาน เพราะว่าหมดจากเราก็ คงไม่มีคนสอนแล้ว”
“พอถึงสมัยนี้ไม่ใช่เรื่องลำบากยากเย็นหรือ เป็นความลับอีกต่อไป หาที่ไหนก็ได้ ตำราที่ พิมพ์ออกมาก็เยอะแยะ ส่วนหนึ่งก็คำว่าคน ไทย ฝีมืออย่างต่างประเทศที่ทำเฟรมเหล็ก ขึ้นมาเราก็ทำได้ ส่วนนึงความมุ่งมั่นก็อยาก ให้เด็กมาเรียนรู้ไว้บ้าง มันดีกว่าไปนั่งหาเอง เสียเวลา ซื้อเวลาที่จะไปลองผิดลองถูก เอา เงินที่ต้องไปลองผิดเป็นแสนหรือหลายแสน มาต่อยอดให้มันเร็วขึ้น ไม่ต้องใช้เวลาหลายๆ ปีกว่าจะเจอ แต่ถ้าใครสนใจสำหรับคอร์ส
เรียนตอนนี้ปิดรับรุ่นสุดท้ายไปแล้ว เหลือ สอนอีกแค่ 2 คน”
“และเร็วๆ นี้ช่วงปลายปี 2556 จะจัด ย้อนอดีตฉลองครบรอบ 50 ปี จักรยานทาง ไกลกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ตอนแรกจะจัดกลาง ปีในช่วงเดียวกับเมื่อ 50 ปีที่แล้ว แต่มีเหตุ ขลุกขลักหลายอย่าง เลยเลื่อนออกไปปลายปี ประกอบกับวาระโอกาสสำคัญด้วยและเพื่อให้ คนที่จะไป คนที่มาหลังๆ ได้มีเวลาเตรียมตัว มากขึ้น บางคนมีภาระจะได้ไปเคลียร์คิวทำตัว ให้ว่าง ให้มีเวลาประชาสัมพันธ์นานอีกหน่อย ประกอบกับเป็นฤดูหนาวคนอาจจะอยากออก กำลังกายบ้าง และยังรอดูว่าถ้ามีสปอนเซอร์ ช่วยมากขึ้น คนมาร่วมงานก็จะได้เสียค่าใช้ จ่ายน้อยลง”
“จะรับสมัครประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน ลงชื่อแล้วโอนเงินค่าโรงแรมค่าอาหารไว้ก่อนเลย เราไม่ได้เอากำไร โรงแรมนอนห้องละ 2 คน ห้องแอร์ มีอาหารเช้าอาหารเย็น เหมือนกับ ลงขันกัน 6 วัน ก็ 6,000 บาท ขากลับ ใครอยากจะกลับด้วยกันก็ลงขันกันเหมารถ กลับด้วยกันก็ได้ ถึงเชียงใหม่วันที่ 6 ก็อยู่ เที่ยวด้วยกัน ขึ้นดอยสุเทพกันหรือใครจะไป ไหนก็ได้”
“โครงการที่จะทำต่อไปคือรีสอร์ทบ้านเสือ หมอบที่ขอนแก่น จะทำเกี่ยวกับจักรยานนี่ แหละ จะเปิดเป็นโรงเรียนสอนเกี่ยวกับการขี่ จักรยาน หลักสูตรเสือหมอบเบื้องต้น ให้คำ แนะนำกับผู้ที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลยแล้วมาขี่ จะได้ ขี่จักรยานให้สนุกขึ้น ปลอดภัยขึ้น ก็ยังคงอยู่ ในแวดวงจักรยานนี่ล่ะ ไม่ได้ไปไหน”
ข้อมูลประวัติและผลงานเพิ่มเติม : facebook / บ้านเสือหมอบ
Leave a Reply