Originally published in Volume 1 No.6 Bicycles United magazine
อ่านเวอร์ชั่นภาษาไทย กดที่นี้จ้า
PREEDA CHULLAMONDHOL Thailand’s Legendary Rider
Since our feature is on Men of the Bikes, we cannot omit one of Thai’s legendary cyclists who a “hero” was highly praised by the all at that period of time. Who has made the record that no one has yet come close to. Former Thailand National Team athlete, champion of four gold medals in Track Mass Start 800m in the 1963 Asian Games and 1968 Southeast Asian Games in Bangkok, winning seven gold medals is no other than Preeda Chullamondhol.
Preeda Chullamondhol, born in Chantaburi on 21 August, 1944, studied in Wat Preechakul School, in Prachinburi Province before he went to Bangkok to further his education in Wat Borwonivet School at the age of 14. “It was at that time that I saw the students cycling in groups amongst themselves and I too wanted to be a part of it. I saved up little by little and gradually managed to save Baht 350. Personally I love to be fast and enjoy speed and got to be a member of the school’s bicycle club.”
Daily at 6 a.m. Preeda would cycle from his home in Sapan Kwai to Ban Phu and then ride back home to take a bath before riding off to school. On average he would cycle 70-80 km, making him healthy, fit and strong to be able to win the many prizes within the country. It was not until the 1st Laemthong Cycling Race that he saw Thais getting on to the winning podium to receive their gold medals. Everybody there was surrounding the winning heroes and thus became the inspiration for him. He too wanted to get a chance to win the gold medal, at the age of 16 in 1959 he was on the National Team and competed in the 2nd 1968 Southeast Asian Games held in Burma.
Preeda Chullamondhol was the star of the Thai cycling team that was the first to compete at the Olympic Games. In 1966 he won four gold medals in the 5th Asian Games, Bangkok. At the 1968 Southeast Asian Games in Bangkok, he won seven gold medals.
At that time he was the fastest Sprint in the group but the elders felt that he was just too young and put him on the reserve team instead. In 1962, he was able to be put on the competing team in the 4th Asian Games held in Indonesia but he won only the Silver Medal. In 1963 he won his first gold medal under the National Team in the Asian Championship in Malaysia. At the age of 19 he became famous and even more so when he went to compete in the 1964 Summer Olympics, officially known as the Games of the XVIII Olympiad held in Tokyo Japan under the the men’s 1000 metre time trial with the time 1:18:06.
His greatness in speed was recognized when Thailand had the opportunity to host the Asian Games five times in 1966. As the games was hosted in his home province, he practice hard for the games for eight months. He made history by being the first Thai and Asian by winning 4 gold medals and two silver medals. Up to now no one has been able to achieve the same. In the following year at the 4th Sierra Sport Cup games held in Laem Thong where Thailand was once again the host, Preeda was triumphant once again winning 7 gold medals. That year it seemed he had reached a saturation point in his life and retired after having spent six years with the National Team at the age of 22 years. He made Thailand proud by putting Thailand cycling amongst world’s cycling competitions.
After retiring from cycling he still had the passion for speed and went on to competing on motorcycles in in the international circuit. He is also the founder of Grand Prix magazine in Thailand and from publishing also went to producing TV program “Motor Week.” He also played a part in the famous Thai film “Behind the Painting” in the role of the father of the leading actress.
In 1976 he had the opportunity to get involved with cycling once again when a businessman invited him to create and produce the Preeda Bicycle brand. This is the only brand in Thailand branding the bicycle under an athlete’s name, but this lasted for only 4 years. Being an athlete and not a businessman the business did not profit and folded. Today the “Preeda Bicycle” is much sought after by bicycle lovers and collectors.
Preeda had once said “nowadays cycling has advanced a lot, with the aid of sports science riders can now better their statistics but this was not available back in the days. There are sponsors to support them but the government should also give more support. As for the athletes they must also look after themselves well and not only be interested in the fame and fortune. Do not play sports to profit in the prize money, play the sport based on the passion from one’s heart.”
Throughout Preeda kept himself associated with cycling as he coached and also managed teams to compete internationally such as the SEA Games, Asian Games and other competitions. He later was Chairman of the Technical Committee of the Thailand Cycling Association.
On 28 March 2010, 19:00 hours Preeda Chullamondhol passed away at the Siriraj Hospital in Bangkok.
ปรีดาจุลละมณฑล
ตำนานไทยไร้เทียมทาน
ไหนๆ เล่มนี้เราคุยกันเรื่องนักแข่งแล้ว ผมคงไม่สามารถที่จะข้ามไม่พูดถึงตำนาน “วีรบุรุษ” (ตามคำ ยกย่องขอสื่อมวลชนในสมัยนั้น) แห่งวงการจักรยานไทยที่ได้ สร้างสถิติที่จนปัจจุบันยังไม่มีใครทำลายได้ อดีตนักกีฬาจักรยานทีมชาติไทย เจ้าของ 4 เหรียญทองในกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ปี 2509 และ 7 เหรียญทองกีฬา เซียพเกมส์ปี 2510 “เดอะจิ๋ว” ปรีดา จุลละมณฑล
คุณปรีดา จุลละมณฑล เกิดที่จังหวัดจันทบุรี ในวันที่ 21 สิงหาคม 2488 เข้ารับการศึกษา ที่โรงเรียนวัดหลวงปรีชากูล จังหวัดปราจีนบุรี ก่อนจะเข้ามาศึกษาต่อที่กรุงเทพฯ โรงเรียน วัดบวรนิเวศ ตอนอายุ 14 ปี ช่วงนั้นเอง ที่ได้เห็นเพื่อนๆ ที่โรงเรียนขี่จักรยานกัน เป็นกลุ่มๆ เลยอยากจะมีกับเขาบ้าง จึงค่อยๆ เก็บสตางค์เองจนได้จักรยานคันแรกในชีวิต ราคา 350 บาท
และด้วยการที่เป็นคนชอบความเร็วเป็นทุน เดิมอยู่แล้ว จึงเข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกชมรม จักรยาน ทุกวันตั้งแต่ 6 โมงเช้า เขาจะปั่น จักรยานจากบ้านแถวสะพานควายไปจนถึง บางปู แล้วปั่นกลับมาอาบน้ำแล้วค่อยปั่น จักรยานไปโรงเรียนต่อ เฉลี่ยวันละประมาณ 70-80 กม. จนสภาพร่างกายทุกอย่าง สมบูรณ์แข็งแรง สามารถคว้ารางวัลต่างๆ ในประเทศมามากมาย
จนมีการแข่งขันจักรยานในกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ 1 คุณปรีดาได้เห็นภาพนักกีฬาไทย คว้าเหรียญทองมาขึ้นแท่นรับเหรียญเยี่ยง วีบุรุษ มีแต่ผู้คน ห้อมล้อม มันกลายเป็น แรงบันดาลใจที่อยากจะยืนเด่นบนแป้นรับ เหรียญบ้าง จึงเข้าคัดเลือกเป็นตัวแทนนัก กีฬาทีมชาติไทยในปี 2502 เพื่อเข้าแข่งขันกีฬาเซียพเกมส์ครั้งที่ 2 ประเทศพม่า ด้วยวัยแค่ 16 ปี ทั้งที่ขณะนั้นเป็นตัว สปรินท์ที่เร็วที่สุด แต่ด้วยอายุที่ยังน้อยจึง เป็นได้แค่ตัวสำรอง เพราะผู้ใหญ่มองว่า ยังเด็กเกินไป
ปรีดาได้เป็นตัวจริงครั้งแรกในการแข่ง เอเชี่ยน เกมส์ ครั้งที่ 4 ที่อินโดนีเซีย ใน ปี 2505 แต่ก็ทำได้แค่เพียงเหรียญเงินเท่านั้น จนในปีต่อมา 2506 สามารถคว้าเหรียญทอง เหรียญแรกให้กับตัวเองในนามทีมชาติไทย ได้ในรายการชิงแชมป์เอเชี่ยนแชมเปี้ยนชิพ ที่มาเลเซีย จากประเภท 800 ม. แมสสตาร์ท และเริ่มโด่งดังเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปขึ้นไป อีกเมื่อได้เดินทางไปแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 18 ที่ญี่ปุ่น ในประเภทไทม์ไทรอัล ระยะ 1,000 ม.ทำเวลาได้ 1 นาที 18.06 วินาที เป็นอันดับ 2 ของเอเชียในปี 2507
และก็ถึงวันที่ได้ประกาศความยิ่งใหญ่ ในโลกแห่งความเร็ว เมื่อประเทศไทยได้ มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา เอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 5 ในปี 2509 เพราะ เป็นการแข่งขันในบ้านเกิด ปรีดาตั้งใจเต็ม ร้อย เก็บตัวฝึกซ้อมอยู่ถึง 8 เดือนเต็ม สร้างประวัติศาสตร์เป็นนักกีฬาคนแรกของ ไทยและทวีปเอเชีย ที่สามารถคว้าเหรียญ ทองมาคล้องคอได้ถึง 4 เหรียญ แถมด้วย อีก 2 เหรียญเงิน จนปัจจุบันยังไม่มีนักปั่น คนไหนที่ขึ้นมาเทียบ และทำลายสถิตินี้ได้
ในปีถัดมา 2510 การแข่งขันกีฬาเซียพ เกมส์ (กีฬาแหลมทอง) ครั้งที่ 4 อีกครั้ง ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ปรีดากลับมา ประกาศความยิ่งใหญ่อีกครั้ง สามารถคว้า คนเดียวได้ถึง 7 เหรียญทอง และในปีนั้น เองที่ดูจะเหมือนเป็นจุดอิ่มตัว เขาประกาศ เลิกเล่นให้กับทีมชาติอย่างเป็นทางการด้วย วัยเพียง 22 ปี ใช้เวลาอยู่กับทีมชาติเพียง 6 ปี แต่ ได้สร้างเกียรติยศไว้ให้กับวงการ จักรยานไทยอย่างยิ่งใหญ่
หลังจากอำลาวงการจักรยานไป แต่ ด้วยการที่เป็นคนที่หลงไหลในความเร็วอยู่ จึงผันตัวเองหันมาจับรถจักรยานยนต์และ รถยนต์ เข้าแข่งรายการใหญ่ๆ ระดับโลก หลายรายการ เป็นผู้เริ่มก่อตั้งนิตยสารกรังปรีซ์ จนถึงทำรายการโทรทัศน์ มอเตอร์วีค ซึ่ง ถือเป็นรายการแรกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับรถยนต์ตลอดทั้งรายการ และแถมเคยได้ แสดงภาพยนตร์เรื่องข้างหลังภาพ (2544) รับบทพ่อนางเอก
ปรีดามีโอกาสกลับเข้ามาเกี่ยวข้องกับ จักรยานอีกครั้งในปี 2519 มีนักธุรกิจชวน ให้มาทำจักรยาน โดยตั้งโรงงานจักรยาน ในชื่อ “จักรยานปรีดา” ซึ่งถือเป็นจักรยาน ไทยยี่ห้อเดียวที่ใช้ชื่อนักกีฬามาใช้เป็นชื่อ จักรยาน แต่ก็ผลิตออกมาในช่วงเวลาสั้นๆ แค่ 4 ปี ด้วยความเป็นนักกีฬาไม่ใช่นัก ธุรกิจ ก็เลยต้องปิดตัวลงเพราะขาดทุน (แต่พอถึงทุกวันนี้จักรยานปรีดากลายเป็น หนึ่งที่นักสะสมหลายๆ คนหามาไว้ใน ครอบครอง)
ปรีดาได้กล่าวให้คติกับนักปั่นรุ่นหลังไว้ น่าฟังว่า “ทุกวันนี้มีการพัฒนาขึ้นมาก นำ วิทยาศาสตร์การกีฬาเข้ามาใช้ทำให้สถิติดี ขึ้น แถมนักกีฬาไม่ต้องลำบากเหมือนยุค ก่อน และมีสปอนเซอร์เข้ามาช่วยเหลือแต่ ทางที่ดีรัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือด้วย ส่วนนักกีฬาต้องดูแลตัวเองอย่าหลงกับ ชื่อเสียง อย่าเล่นกีฬาเพื่อหวังเงินหรือผล ประโยชน์ แต่เล่นด้วยใจรักและตั้งใจให้จริง แล้วทุกอย่างจะตามมาเอง”
ตลอดเวลาปรีดายังคงอยู่ใกล้ชิดกับ วงการจักรยานมาโดยตลอด เป็นผู้ฝึกสอน และผู้จัดการทีมพร้อมทั้งนำทีมเขัาร่วมการ แข่งขันระหว่างประเทศบ่อยๆ เช่นซีเกมส์ เอเซี่ยนเกมส์ การแข่งขันทัวร์ต่างๆ และ ปฏิบัติหน้าที่ประธานเทคนิค สมาคม จักรยานแห่งประเทศไทย ในพระบรม ราชูปถัมภ์
และเมื่อเวลา 19.00 น. ของวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปรีดา จุลละมณฑล เสียชีวิตลงที่ รพ.ศิริราช เพราะปอดไม่ ทำงาน ไม่รู้สึกตัว แต่ชีพจรยังเต้นเพราะ เครื่องช่วยหายใจ ก่อนหมดลมหายใจจาก โลกไปอย่างสงบ หลังจากป่วยด้วยโรคไต วายและปอดไม่ทำงาน
Leave a Reply