Originally published in Volume 1 No.5 Bicycles United magazine
Photos: Mook Ayutthaya
อ่านเวอร์ชั่นภาษาไทย กดที่นี้จ้า
AYUTTHAYA POLICE BIKE
For those cyclists who express their cycling fascination by posting photos on social network and keeping up with cycling trips from Facebook, should already have come across several photos of “police on bicycles”. Whilst this may be surprising, as people can only imagine “police on bikes” in international movies. Actually here in Thailand there is, and for quite a while ago, the existence of the Ayutthaya Police Bike Patrol.
These sets of photos on Facebook was publicized by Khun Mook Ayutthaya, one of the volunteers of the Police Bike Patrol who realized how useful and beneficial this activity will be. Not only by deciding to introduce this to the public, but also using the right media to publicize it. By seeing the first photo, many people became interested and sought for more information, which made the activity to be so well known. Today is another good opportunity to further publicize the Ayutthaya Police Bike Patrol, with the help from Khun Mook who assembled and organized all the information for us.
The Ayutthaya Police Bike Patrol was established end of 2003 after the APEC meeting. Pol. Maj. Naruenaj Phuthaisong Police Inspector of Crime Suppression Department at that time had the idea that after the APEC meeting in Bangkok, he will start the project of police bicycle units in Ayutthaya since the area still had some locations that could not be reached due to in convenience. The idea of having bike police could be a solution, so he assigned Pol. Sgt. Maj. Vekhin Ratchatathada to find and study more about bike patrolling policies so that the project could be launched as fast as possible. After that, the Ayutthaya Police Bike Patrol started, with a new uniform, which resembles that of other countries’ police bicycle uniforms, to create an international image. Pol. Lt. Col. Suthep Srisang was the one who managed the operation and equipment.
After the program was launched, some cycling lovers accompanied the police bike unit where they would join cycling with the police officers when they are on duty. Even when the officers are done with their job, the volunteers would still join cycling with other groups in the province, which eventually turned out as the initiation of the bike patrol volunteers.
Due to the fact that at that time (year 2003) bike petrol was considered odd and not easily recognized nor known by people whether they are police officers or not, it took quite long time for people to be familiar with the concept.
Several questions was raised not only from the villagers but from the police as well, whether this method would be sufficient for chasing or running after in certain incidents. The explanation: each type of the police officer’s vehicle has both advantages and disadvantages. Cars may be the fastest but they don’t have the flexibility and approachability like motorcycles; on the other hand, patrolling on motorbikes it too could not take in all details like patrolling on foot. Also, for some routes, bikes are able to use the similar speed as motorbikes when patrolling on duty. Patrolling on bikes offers more flexibility, yet officers could patrol thoroughly pretty much as well as if they were on foot.
The bike patrol units proved that the bike is not an obstacle when using as a vehicle to observe and take care of the citizen’s security. Although they might not be the fastest in speed, they have their unique and amazing qualities which are most suitable and appropriate in certain times and situations.
The impressive event, narrated by Pol. Sen. Sgt. Maj. Chayut Chandavimol –
An example of an event occurred during police patrol on duty was helping a military police to capture a drunk in-uniform soldier around PTT intersection. As the soldier was a big man, neither the traffic patrol nor military police could handle him, until fortunately the police bike patrol arrived.
Another incident was at Ayutthaya Train Station when a mad man high on drugs was about to be captured. The man was huge, mentally lost, strung out and even holding a large knife the length of his arms. At that time, a big crowd gathered around watching the frightening event the police and the drunk. The bike patrol unit was able to stop the problem with the right timing using a baton to bounce away the knife and captured the maddened guy the man.
The command line of Ayutthaya Police Bike Patrol
Pol. Col. Chaiya Phetpanya,
Director of Ayutthaya Police Force
Pol. Lt. Col. Chainarong Tasuwan,
Commander of Ayutthaya Police Bike Patrol
Pol. Lt. Col. Jakkraphan Thupatemee,
Inspector of Ayutthaya Police Force – Patrol supporter
Pol. Sen. Sgt. Maj. Chayut Chandavimol,
Chief of Police Bike Patrol and Volunteers
Pol.Sen.Sgt.Maj. Prathan Prungkasem,
Commanding Officer of Ayutthaya Police Force
List of Bicycle Patrol Unit Volunteers
Amornsom Sriyamok, Prasat Paksuphab, Boonlert Khunthong, Poot Koetputpiam, Wattana Sapsaphab, Rujiphat Madisorn, Naruenat Siroma, Choosak Phoolma, Phongsala Phunpipat, Phongphan Kasetpibal, Apisak Ubalee, Sirirat Thongtaipa
The training of Ayutthaya Police Bike Patrol and volunteers
1. Defensive measures, how to capture bandits (using handcuffs)
2. Disciplines, paying respect, forming lines, shooting, basic law of transportation
3. Practicing how to inspect suspicious items (bombs)
4. Setting up checkpoints
5. Techniques of basic bicycle patrolling and how to use bicycles as intercepting vehicles
5.1 Tack stand (balancing the bike with no foot on the ground)
5.2 Endo (lift off the back wheel)
5.3 Rocking (basic of controlling bikes)
5.4 U-turning in narrow areas (180 Pivot)
5.5 Bunny Hop – hopping over obstructive objects
5.6 Balance – riding in narrow roads
5.7 Down Stair – practice going up and down the stairs
5.8 Drop Off – getting down from higher levels
The benefits of bike patrol units
1. No gasoline needed
2. Boosting one’s strength both in the body and mind
3. Reachable in several areas that regular patrols aren’t able to reach
4. Reducing pollution, remaining a good environment
5. Quiet
6. Provide the feeling of police officers being “more approachable” to citizens, with admiration
สายตรวจจักรยาน พระนครศรีอยุธยา
ชาวจักรยานที่ชอบเฝ้าหน้าคอมพิวเตอร์ ติดต่อเพื่อนและโชว์ ภาพถ่ายสวยๆ ใน Social Network ดูข้อมูลทริปต่างๆ จาก facebook เมื่อไม่นานมานี้หลายๆ คนคงได้เห็นภาพชุดนึง ที่เป็น…ตำรวจบนอานจักรยาน ซึ่งน่าจะเป็นภาพแปลกตา เพราะเราเคยเห็นกันแต่ในหนังต่างประเทศ ซึ่งไม่เคยคิดว่าใน เมืองไทยก็มีกับเขาเหมือนกัน และก็มีมานานมากแล้วโดยที่ เราไม่เคยรู้เลยว่ามี “สายตรวจจักรยาน”
ภาพชุดดังกล่าวถูกเผยแพร่โดย “คุณมุก อยุธยา” หนึ่งใน ทีมอาสาสมัครสายตรวจจักรยาน ที่เล็งเห็นว่ากิจกรรมดีๆ อย่างนี้น่าจะถูกเผยแพร่ และเลือกสื่อในการเผยแพร่ได้ถูกทาง ซะด้วย และด้วยรูปแรกเพียงรูปเดียว ทำให้หลายคนเข้าไป ค้นหาข้อมูลต่อ และต่อ และต่อ จนเริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้าง… วันนี้ผมถือเป็นโอกาสดีในการช่วยกันเผยแพร่ข้อมูลดีๆ อย่าง นี้ออกไป โดยความช่วยเหลือของคุณมุกเองที่เป็นคนรวบรวม
และเรียบเรียงข้อมูลทั้งหมดมาให้ โดยไม่ตัดเนื้อหาส่วนใด ออกเลย
สายตรวจจักรยาน พระนครศรีอยุธยา ได้ก่อตั้งขึ้นประมาณปลายปี 2546 หลังงานประชุมเอเปค 2003 เสร็จสิ้น พ.ต.ต.นฤนาท พุทไธสง สวป.ในขณะ นั้น ได้มีความคิดในวงสนทนา ว่าหลัง เสร็จสิ้นภารกิจรักษาความปลอดภัยงาน ประชุมเอเปคที่ กทม.แล้ว กลับไปจะเริ่ม ทำโครงการสายตรวจจักรยานที่อยุธยา เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังมีจุดบอดบาง จุดที่สายตรวจทั่วไปเข้าไปตรวจได้อย่าง ไม่สะดวกและทั่วถึง
ถ้ามีสายตรวจจักรยานน่าจะแก้ไข ข้อบกพร่องตรงนี้ได้ จึงได้มอบหมายให้ จสต.เวคิน รัชตธาดา ผบ.หมู่งานป้องกัน และปราบปรามในขณะนั้น (ปัจจุปันย้าย ไปอยู่ สภ.หมูสี อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา) ซึ่งเป็นผู้ที่ชอบการขับขี่จักรยาน ให้ศึกษา ระเบียบของสายตรวจจักรยานเพื่อจะเริ่มงาน ให้ได้เร็วที่สุด สายตรวจจักรยาน สภ.พระนครศรีอยุธยาจึงได้เริ่มงานสายตรวจ พร้อมกับเครื่องแบบใหม่ซึ่งใกล้เคียงกับ เครื่องแบบในต่างประเทศที่เป็นสากล เป็นแห่งแรกและครั้งแรก โดยมี พ.ต.ท. สุเทพ ศรีสังข์ เป็นผู้ควบคุมการปฏิบัติ และจัดหาอุปกรณ์ให้
เมื่อหน่วยงานก่อตั้งมาได้ระยะหนึ่ง จึงเริ่มมีประชาชนที่รักการปั่นจักรยาน ออกปั่นด้วยกัน บางครั้งตอนเข้าเวรก็ จะมีคนขอมาปั่นไปเป็นเพื่อน หรือบางที ออกเวรแล้วสายตรวจเราก็ปั่นไปกับกลุ่ม จักรยานในจังหวัดบ้าง สนิทกันจนเป็น จุดเริ่มของอาสาสมัครสายตรวจจักรยาน ในเวลาต่อมา
เนื่องจากในขณะนั้น (2546) สายตรวจ จักรยานถือว่าเป็นอะไรที่แปลก บางคน ที่เห็นก็รู้สึกว่าใช่ตำรวจหรือไม่ ก็ต้องใช้ เวลานานเป็นหลายปี กว่าจะทำให้ชาวบ้าน รู้จักและคุ้นเคย บางครั้งก็ต้องเจอกับคำถาม ที่ถูกถามบ่อยๆ จากชาวบ้านหรือแม้กระทั้ง จากตำรวจด้วยกันว่าแล้วจะขี่ไล่จับเขา ทันเหรอ ซึ่งมันเป็นคำถามซึ่งใครๆ ก็รู้
คำตอบอยู่แล้ว จึงต้องขออธิบายว่า ยาน พาหนะของตำรวจสายตรวจก็จะมีข้อเด่น ข้อด้อยแตกต่างกันไป รถยนต์อาจจะเร็ว ที่สุดแต่ก็ไม่คล่องกว่ารถจักรยานยนต์ ซึ่ง สายตรวจจักรยานยนต์ไปได้เร็วกว่าคล่องกว่า แต่ก็ไม่ได้ละเอียดเท่าสายตรวจเดินเท้า และบางเส้นทาง สายตรวจ จักรยานเราอาจ จะใช้ความเร็วได้ใกล้เคียงกับสายตรวจ จักรยานยนต์ (ในการขับขี่แบบออกตรวจ ปกติ) สายตรวจจักรยานคล่องตัวกว่า เมื่อ
เปรียบเทียบกับสายตรวจเดินเท้า แต่ความ ละเอียดในการตรวจตรา ถือว่าใกล้เคียงกัน
สายตรวจจักรยานได้พิสูจน์ให้เห็นว่า พาหนะแบบจักรยานไม่ได้เป็นปัญหาในการ ใช้ออกตรวจเพื่อป้องกันเหตุ และดูแลประชาชน จักรยานแม้ไม่ได้เป็นยานพาหนะที่เร็วที่สุด แต่อาจจะเหมาะสมที่สุด ถ้าอยู่ถูกที่ ถูก เวลา และถูกสถานการณ์
เหตุการณ์ประทับใจ เล่าโดย : ดต.ชยุต จันทรวิมล เหตุการณ์ที่เคยเจอระหว่างปฎิบัติหน้าที่ อาทิ. เข้าช่วย (สารวัตรทหาร) จับกุมทหารในเครื่องแบบที่เมาสุรา บริเวณ แยกไฟแดง (ปตท.) ทหารตัวใหญ่มาก แล้วสารตรวจจราจรกับ สารวัตรทหารเอาไม่อยู่ สายตรวจจักรยานเข้าไปช่วยสามารถ จับกุมได้
จับกุมคนร้ายคลั่งยาบ้ามีอาวุธมีดที่สถานีรถไฟอยุธยา คนร้าย รูปร่างสูงใหญ่มาก เมายาบ้า คลุ้มคลั่ง ถือมีดฟันน้ำ แข็งยาวประมาณช่วงแขน ซึ่งขณะนั้นมีชาวบ้านมุงดูจำนวน มาก ประกอบกับคนร้ายท้าให้ตำรวจเข้าไป จนกระทั้งสาย ตรวจจักรยานเข้าไปช่วยระงับเหตุอาศัยจังหวะคนร้ายเผลอใช้ ดิ้ว (Baton) ตีไปที่มีคนร้าย มีดหลุดมือ เลยเข้าจับกุมได้
สายงานบังคับบัญชา สายตรวจจักรยาน พระนครศรีอยุธยา
พ.ต.อ.ชัยยะ เพ็ชรปัญญา
เป็นหัวหน้าหน่วย ผกก.สภ.พระนครศรีอยุธยา
พ.ต.ท.ชัยณรงค ทาสุวรรณ
(ผู้บังคับบัญชา สายตรวจจักรยาน) สวป.สภ.พระนครศรีอยุธยา
พ.ต.ท.จักรพันธ์ ธูปะเตมีย์
(พงส.สบ.2.สภ.พระนครศรีอยุธยา) ช่วยออกตรวจเสริม
ดต.ชยุต จันทวิมล
(หัวหน้าชุดสายตรวจจักรยานและอาสาฯ)
ดต.ประธาน ปรงเกษม
(ผบ.หมู่งาน (ป) สภ.พระนครศรีอยุธยา
รายชื่ออาสาสมัครตำรวจสายตรวจจักรยาน พระนครศรีอยุธยา
นายอมรสม ศรียมก, นายประสาท ภาคย์สุภาพ, นายบุญเลิศ ขันทอง, นายพุฒ เกิดพุฒเปี่ยมม, นายวัฒนา ทรัพย์สภาพ, นายรุจิภาส มดิศร, นายนฤนาท สิโรมา, นายชูศักด พูลมา, นายพงษ์สละ พันธุ์พิพัฒน์, นายพงษ์พันธ์ เกษตรภิบาล, นายอภิศักดิ์ อุบาลี, นางสาวศิริรัตน์ ทองไถ่ผา
การฝึกอบรม ของอาสาสมัคร ตำรวจสายตรวจ จักรยาน พระนครศรีอยุธยา
1. ข้อกฎหมาย ที่ผู้ช่วยเหลือ เจ้าพนักงานต้องทราบ
2. เทคนิคการป้องกันตัวเอง, การเข้าช่วยจับกุมคนร้าย (ใส่กุญแจ)
3. ฝึกระเบียบวินัย, การทำความเคารพ, แถวชิด, การยิงปืน, กฎหมายเกี่ยวกับการจราจรเบื้องต้น
4. ฝึกตรวจสอบวัตถุต้องสงสัย (ระเบิด)
5. การตั้งจุดตรวจ (ด่าน)
6. เทคนิคของสายตรวจจักรยานขั้นพื้นฐาน (Basic) และการใช้ จักรยานเป็นเครื่องมือสกัดคนร้าย
6.1 แทคสแตนท์ (ทรงตัวจักรยานโดยเท้าไม่แตะพื้น)
6.2 เอ็นโด้ (ยกล้อหลังขึ้น)
6.2 Rocking (ร็อคกิ้ง) การควบคุมจักรยานเบื้องต้น
6.4 การกลับตัวจักรยานในที่แคบ (180) Pirot
6.5 Bunny Hop กระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง
6.6 Balance การขี่จักรยานในเส้นทางที่แคบ
6.7 Down Stair ฝึกการขึ้นลงบันได
6.8 Drop Off (การลงจากที่สูง)
ข้อดีสายตรวจจักรยาน
1. ไม่ใช้น้ำมัน (ประหยัดงบประมาณ)
2. สร้างเสริมร่างกายให้แข็งแรง และจิตใจ สดชื่นแจ่มใจ ให้กับ เจ้าหน้าที่สายตรวจจักรยาน
3. เข้าได้ทุกสถานที่ (พื้นที่เฉพาะ) ที่สายตรวจทั่วไปเข้าไปไม่ถึง
4. ลดมลภาวะ,รักษาสิ่งแวดล้อม
5. เงียบ
6. ลดกำแพงความรู้สึกของประชาชนกับตำรวจ
Leave a Reply